คำถามที่พบบ่อย

INNOVATION ONE คืออะไร ...?

Innovation One เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่าง ส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการสนับสนุน ธุรกิจด้านเทคโนโลยีในกรอบภาคอุตสาหกรรมด้านเงินทุน,ตลาด เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

กรอบธุรกิจที่อยู่ในข่ายการพิจารณา
  • เป็นโครงการที่พร้อมจะ Scale up และมีความเป็นไปได้สูงที่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต
  • เป็นโครงการในกรอบ Tech Driven (เป็น Deep Tech หรือไม่ Deep Tech ก็ได้)
  • ข้อเสนอต้องมีเงื่อนไขการส่งเงินคืนเข้ากองทุน เมื่อประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์
เงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการที่จะขอรับการสนับสนุน

คุณสมบัติผู้ขอรับการสนับสนุน

  • นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย และมีสถานประกอบการในประเทศไทย โดยมีผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
  • ไม่เป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือไม่เป็นบุคคลล้มละลายที่ศาลยังไม่สั่งให้พ้นจากคดี หรือตามข้อกำหนดที่กองทุนจะได้มีขึ้นต่อไปในอนาคต
  • ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนยื่นข้อเสนอโครงการ พร้อมหลักฐานการสนับสนุนเงินหรือทุนที่ได้รับมาแล้ว หรือข้อตกลงว่าจะสนับสนุนเงินหรือทุนจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคเอกชนอื่น ตามแบบฟอร์ม ขั้นตอนและวิธีการที่กองทุนกำหนด
โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” เปิดรับสมัครด้านใดบ้าง
  • โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” เปิดรับทุกด้าน ยกเว้นโครงการที่ยังอยู่ในระดับการวิจัยพัฒนา
  • โครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” ไม่กำหนดระยะเวลาหมดเขตยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการฯ
แนวทางหลักเกณฑ์พิจารณาโครงการ

1. ด้านธุรกิจ (ปัจจัยภายนอก)
• ขนาดของตลาด
• อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด
• ความแข็งแกร่งของคู่แข่งในตลาด
• อัตราการเติบโตของตลาด
• Degree of pain point
• จำนวนผู้เล่นในตลาด

2. ด้านธุรกิจ (ปัจจัยภายใน)
• ความชัดเจนของกลยุทธ์ในการพัฒนาบริษัท
• Value proposition
• ความรุนแรงของ pain point ในตลาด
• Product-market fit ความง่ายในการ adopt ใช้ solution
• ความเป็นไปได้ใน business model
• Vision ของบริษัทในอีก 3 ปีข้างหน้า
• ลักษณะของความ scalability
• ความชัดเจนและเป็นไปได้ในการสร้างความได้เปรียบ (Differentiation and unique selling point)

3. ด้านการเงิน การบัญชี และภาษี
• ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี
• ความถูกต้องของการบันทึกภาษี
• อัตราการเติบโตของรายได้ที่ผ่านมาของธุรกิจ
• ความเสี่ยงโครงสร้างทางการเงิน (Financial Structure)
• การคาดการณ์อัตราผลกำไรเมื่อผ่านไป 3 ปี หลังได้รับเงินสนับสนุน
• การไม่มีหนี้สินค้างชำระทางด้านการเงิน
• การไม่มีหนี้สินค้างชำระทางด้านการภาษี
• ความเป็นไปได้ของ Projection Model
• กลยุทธ์การ Exit เพื่อแนวทางการคืนเงินเข้ากองทุน
• รายได้ปัจจุบัน
• อัตราการเติบโตของหน่วยชี้วัดซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละอุตสาหกรรมและกลุ่มธุรกิจ

4. ด้านกลุ่มผู้ร่วมก่อตั้ง และบุคลากร
• ความเข้าใจเชิงลึกและรอบรู้ในธุรกิจ
• ความเชื่อมโยงของ background ของผู้ประกอบการกับธุรกิจที่กำลังทำอยู่ ของแต่ละบุคคล
• ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัวของผู้ประกอบการ
• ทัศนคติของผู้ประกอบการ
• สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ประกอบการที่เป็นทีมผู้บริหาร
• ปรัชญาในการบริหารทั้งคนและบริษัทของผู้ประกอบการ (คะแนนเป็นไปตามความเหมาะสมกับธุรกิจและความพึงพอใจของคณะกรรมการ)
• จำนวนผู้ประกอบการที่ถือว่าเป็นผู้ตัดสินใจ
• ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรในทีมผู้บริหาร
• จำนวนบุคลากรที่เป็น N-1
• ความสอดคล้องของวัฒนธรรมองค์กรกับจุดประสงค์กองทุน

5. ด้านกฎหมาย
• มีระบบในการจัดเก็บเอกสารและเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์
• คดีฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา
• ความน่าจะเป็นที่จะมีคดีฟ้องร้องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• License หรือใบมาตรฐานต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ
• สัญญาของบริษัทที่มีภาระผูกพันธ์อื่นๆ เช่น สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นที่ผ่านมา, กลุ่มคู่ค้า, กลุ่มลูกค้า (contingency liability)
• Toxic clause หมายถึง ข้อตกลงที่ไม่เป็นไปเพื่อ the best interest ของบริษัท

6. ด้านเทคโนโลยี
• ความเหมาะสมของเทคโนโลยีที่ใช้เมื่อเทียบกับเนื้อหาธุรกิจ
• ความสามารถในการขยายตัว-Scalability
• Leadtime ในการพัฒนาสินค้า
• ความยากง่ายในการเลียนแบบทางเทคโนโลยี
• ความสามารถในการขยายตัว-Scalability
• Leadtime ในการพัฒนาสินค้า
• ความยากง่ายในการเลียนแบบทางเทคโนโลยี

7. ด้านการควบคุมภายใน
• มีระบบการควบคุมภายในที่รัดกุม
• มีขั้นตอนของการเบิกจ่ายที่ชัดเจนและบุคลากรทุกคนในบริษัททราบขั้นตอน

ผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ จะต้องทำอย่างไร

1. ใบสมัครเข้าร่วมโครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” (ดาวน์โหลดใบสมัครโครงการฯ ได้ที่ : https://shorturl.asia/38OX2)

2. จัดเตรียมข้อเสนอขอรับการสนับสนุน ( Pitch Deck )

1) ข้อมูลบริษัท /ผลิตภัณฑ์ และสถานะปัจจุบันของบริษัท
• เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้ว
• มีผลิตภัณฑ์ พร้อมเข้าสู่ตลาด
2) อธิบายเกี่ยวกับสินค้า/โครงการที่ยื่นเข้าขอรับทุนสนับสนุน
• เทคโนโลยีที่ใช้
• ผลิตภัณฑ์ของท่านสามารถแก้ไข Pain Point ได้อย่างไร
• ขนาดของตลาด/ขนาดของตลาดที่เป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
• แผรธุรกิจ (Executive Summary)
3) เป้าหมายเงินทุนสนับสนุนที่ต้องการและแผนการนำไปใช้

ขั้นตอนต่อไป เมื่อได้รับการอนุมัติการสนับสนุนจากโครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน”
  • โครงการฯ จะดำเนินการเจรจาจัดทำบันทึกข้อตกลง กับผู้ที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
  • โครงการฯ ดำเนินการจัดทำสัญญา 2 ฉบับ เมื่อ บันทึกข้อตกลง เรียบร้อยแล้ว

1) สัญญาขอรับการสนับสนุน
2) สัญญาค้ำประกัน ( เพื่อเป็นการประกันการปฏิบัติตามสัญญารับการสนับสนุนจากกองทุนตามวงเงินที่ระบุไว้ในสัญญารับการสนับสนุน )

ระยะเวลาของสัญญาขอรับการสนับสนุน

ระยะเวลาสัญญาขอรับการสนับสนุนจะเป็นไปตามระยะเวลาที่ได้ตกลงกันใน บันทึกข้อตกลง ระหว่างโครงการฯ และผู้ที่ได้รับการอนุมัติ

การติดตามและประเมินผล

ผู้ที่ได้รับทุนสนับสนุนจะต้องรายงานผลการดำเนินงานและงบการเงินให้แก่โครงการฯ ทุก 3 เดือน ตลอดระยะเวลาการรับทุนสนับสนุน

การคืนเงิน

ผู้รับการสนับสนุนทุนจะต้องคืนเงิน “เมื่อประสบผลสำเร็จเชิงพานิชย์” กลับมายังโครงการฯ เมื่อผู้รับการสนับสนุนทุนประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ให้พิจารณาส่งคืนเงินแก่กองทุนเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าเงินที่ระดมทุนที่ได้รับจากโครงการ “กองทุนอินโนเวชั่นวัน” ในรอบนั้นๆ โดยวิธีการคืนเงินจะขึ้นอยู่กับการตกลงของโครงการฯและผู้ขอรับการสนับสนุนทุน